ตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งถูกคิดค้นและจดสิทธิบัตรขึ้นในปี 1956 โดยชายชาวอเมริกันนามว่า Malcom Mclean ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งตู้คอนเทนเนอร์
 

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บ่อยที่สุดในอุตสาหกรรมการขนส่ง
● Dry Container เป็นตู้คอนเทนเนอร์ ที่นิยมใช้กันมากที่สุดตามมาตรฐาน ISO เหมาะสำหรับการจัดส่งวัสดุแห้ง มีขนาดตั้งแต่ 10, 20 และ 40 ฟุต
● Flat Rack Containers Flat Rack เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่มีด้านสามารถพับเก็บได้เพื่อรองรับการขนสินค้าที่มีน้ำหนักและขนาดใหญ่ เช่น อุปกรณ์ก่อสร้าง วัสดุก่อสร้างหรือเครื่องจักรกลหนัก
● Open Top Containers มีส่วนที่สามารถถอดออกและเปิดหลังคาด้านบนได้ สำหรับบรรจุวัสดุ หรือสินค้าที่มีขนาดสูง
● Side Open Container มีช่องเปิดที่เก็บด้านข้าง (ด้านยาว) เพื่ออำนวยความสะดวกในการบรรทุกและขนถ่ายสินค้าที่เฉพาะเจาะจง เช่น ยานพาหนะขนส่ง
● IOS (Refrigerated ISO Containers) เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ควบคุมอุณหภูมิเย็นคงที่ เพื่อใช้ขนส่งสินค้าที่เน่าเสียได้ง่าย เช่น ผักผลไม้ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมหรืออาหารทะเล

 
ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์
โดยขนาดตู้คอนเทนเนอร์ตามมาตรฐานแล้วจะมี 2 ขนาด คือ ขนาด 20 (เหมาะสำหรับสินค้าหนัก เช่น เครื่องจักร)
และ 40 ฟุต (เหมาะสำหรับสินค้าเบา ที่มีจำนวนมาก)
 
วัสดุและโครงสร้างของตู้คอนเทนเนอร์
● โครงสร้าง ประกอบไปด้วยเสาและคานที่ทำจากเหล็ก ตำแหน่งของเสาอยู่ทั้ง 4 มุมของคอนเทนเนอร์ มีความแข็งแรงขนาดรองรับน้ำหนักได้มากกว่า 25 ตัน
● ผนัง เป็นส่วนที่มีเอกลักษณ์ มีลักษณะเป็นเหล็กที่พับเป็นลอนๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง มีน้ำหนักเบา และสีที่พ่นทับมีความคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ และความชื้น
● พื้น โดยทั่วไปเป็นวัสดุบอร์ดหรือไม้
 

การขนส่งแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือตู้ LCL
การขนส่งแบบ LCL (Less Than Container Load) หรือการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์แบบไม่เต็มตู้ นิยมใช้ตู้ High Cube Container (ขนาด 40 ฟุต ) สินค้าส่วนใหญ่ที่ขนส่งแบบ LCL มักจะมีน้ำหนักเบา

 
ตู้คอนเทนเนอร์ของแต่ละสายเดินเรือมีขนาดไม่เท่ากัน
สายการเดินเรือแต่ละสายมักจะมีการสั่งผลิตตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตัวเอง โดยแต่ละสายเรือก็จะมีขนาดของตู้ที่แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะมีขนาดใกล้เคียงกับตู้คอนเทนเนอร์ขนาดมาตรฐาน
 

ตัวเลขท้ายตู้คอนเทนเนอร์ คือ รหัสบอกรายละเอียด
ตัวเลขท้ายตู้คอนเทนเนอร์นั้นเป็นรหัสของตู้ ที่บอกรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์นั้น ซึ่งจะถูกกำหนดด้วยมาตรฐาน ISO 6346 ( มาตรฐานสากลที่ครอบคลุมการเข้ารหัสบัตรประจำตัวและเครื่องหมายของการขนส่ง) และ BIC (Bureau of International Containers) สำนักภาชนะบรรจุระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย


● รหัสเจ้าของตู้คอนเทนเนอร์

● รหัสระบุประเภทตู้คอนเทนเนอร์

● รหัสการจดทะเบียนตู้คอนเทนเนอร์

● รหัสตรวจสอบความถูกต้อง เจ้าของ ประเภท และการจดทะเบียนตู้คอนเทนเนอร์

● รหัสระบุขนาดและชนิดของตู้คอนเทนเนอร์

 
 

Code ข้างตู้คอนเทนเนอร์ มี 4 ตัวอักขระ
รหัสข้างตู้คอนเทนเนอร์นั้น คืออักขระ 4 ตัวที่แสดงขนาดและชนิดของตู้ไว้ด้วยกัน (Container Size and Type Code) เป็นรหัสตามมาตรฐานที่กำหนด ISO 6346 โดย BIC (International Container Bureau) เช่น Code : 42G1


4 คือความยาว 40 ฟุต
2 คือความกว้างและความสูง
G1 คือชนิดตู้คอนเทนเนอร์ คือ General Purpose

อายุการใช้งานของตู้คอนเทนเนอร์
ปกติแล้ว ตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้า(ชิปปิ้ง)สามารถใช้งานได้ยาวนาน 20 ปี และด้วยความที่ทำจากวัสดุที่มีความแข็งแรง จึงไม่ได้ต้องการบำรุงรักษามากนัก เพียงแค่ทำความสะอาดตามปกติ
 
 
 
 
 
Reference : https://www.bic-code.org/