พลาสติก เป็นผลิตภัณฑ์จากกระบวนการปิโตรเลียม โดยคุณสมบัติของพลาสติกจะแตกต่างกันตามตัวตั้งต้น เช่น พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน จึงทำให้ถุงพลาสติกมีคุณสมบัติแตกต่างกันด้วย

ถุงเย็น ถ้าอ่านที่ฉลากจะเห็นคำว่า LDPE ชื่อเต็มคือ Low Density Polyethylene ซึ่งก็คือ พลาสติกพอลิเอทิลีนแบบความหนาแน่นต่ำ พลาสติกชนิดนี้จะใสแต่ไม่มีความมันวาว นิ่ม เหนียวและยืดหยุ่น ทนอุณหภูมิต่ำได้เป็นอย่างดี เราจึงเรียก ถุงที่ผลิตจากพลาสติกชนิดนี้ว่า ถุงเย็น โดยถุงเย็นจะสามารถทนอุณหภูมิต่ำได้มากถึง -40 องศาเซลเซียส ทำให้ถุงชนิดนี้ไม่กรอบและแตกเมื่อแช่ในช่องแช่แข็งปกติทั่วไป (ประมาณ – 18 องศาเซลเซียส) แต่ทนความร้อนได้เพียง 80 องศาเซลเซียสเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถใส่ของที่ร้อนแบบเดือดๆ หรือของที่ทอดใหม่ๆได้ ถ้าใส่จะทำให้พลาสติกเสียรูปและเป็นอันตรายได้

ถุงร้อน มี 2 แบบ คือ ถุงร้อนแบบใส และถุงร้อนแบบขุ่น


ถุงร้อนแบบใส ถ้าอ่านที่ฉลากจะเห็นคำว่า PP ชื่อเต็มคือ Polypropylene ลักษณะ ใสเหมือนแก้ว มันวาว พลาสติกชนิดนี้ทน

ความร้อนได้สูงมากกว่า 100 องศาเซลเซียส คือสามารถใส่น้ำเดือด หรืออาหารที่ร้อนจัดได้อย่างดี แต่ถุงชนิดนี้ไม่สามารถทนความเย็นได้

เมื่อแช่ช่องแข็งจะกรอบเปราะแตกได้ง่าย

 

ถุงร้อนแบบขุ่น ในท้องตลาดจะเรียกทั้ง ถุงไฮเดน หรือถุงขุ่น ถ้าอ่านที่ฉลากจะเห็นคำว่า HDPE ชื่อเต็มคือ high density

polyethylene เป็นพลาสติก พอลิเอทิลีนแบบความหนาแน่นสูง พลาสติกชนิดนี้จะ สีขุ่นขาว ไม่มีความมันวาว ถุงชนิดนี้ได้รับความ

นิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจาก แข็งแรง น้ำหนักเบาและมีราคาถูก สามารถใช้งานได้หลากหลาย เพราะสามารถทนความร้อนได้ประมาณ 100

องศาเซลเซียส และทนความเย็นได้ประมาณ 0 องศาเซลเซียส จึงสามารถ ใส่อาหารที่ร้อนและเย็นได้ แต่ก็มีข้อควรระวังคือ ไม่สามารถใส่

อาหารที่ร้อนถึงจุดเดือดได้และแช่ในช่องแข็งไม่ได้จะกรอบและแตกง่าย

 

เตาไมโครเวฟเป็นเตาที่สร้างคลื่นไมโครเวฟจากพลังงานไฟฟ้ามาทำให้อาหารร้อน ไมโครเวฟที่ใช้กันทั่วไปเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) มีความยาวคลื่นในช่วง 1 mm ถึง 1 m มีความถี่ของช่วงคลื่นในช่วง 300 MHz ถึง 300 GHz ซึ่งมีความถี่คลื่นสูงสุดประมาณ 2,450 ล้านรอบ/วินาที หรือ 2.45 GHz โดยคลื่นไมโครเวฟไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่สามารถสัมผัสได้ สามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือเฉพาะเท่านั้น

อาหารโดยทั่ว ๆ ไปจะประกอบด้วยโมเลกุลของน้ำในอาหารซึ่งจะสามารถดูดซึมคลื่นไมโครเวฟ ทําให้อาหารร้อนอย่างรวดเร็ว และเมื่อโมเลกุลของนํ้าดูดซึมคลื่นไมโครเวฟแล้ว คลื่นไมโครเวฟจะสลายตัวในทันทีไม่สะสมในอาหาร จึงไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

 

ระบบการทำงานของเตาไมโครเวฟคือ คลื่นไมโครเวฟที่มีความถี่สูงจะพุ่งเข้าสู่อาหารจากทุกทิศทุกทางโดยรอบของผนังเตาด้านในแล้วแผ่กระจายไปสู่อาหาร เมื่อคลื่นไปกระทบอาหาร ทําให้โมเลกุลของน้ำในอาหารเกิดการสั่นสะเทือนและชนโมเลกุลอื่น ๆ ต่อไปจนเกิดเป็นพลังงานจลน์ และพลังงานจลน์นี้เองจะกลายสภาพเป็นพลังงานความร้อน จึงทําให้อาหารสุกอย่างรวดเร็ว และเร็วกว่าการประกอบอาหารด้วยระบบอื่น ๆ จึงเป็นการรักษาคุณค่าของอาหารไว้อย่างครบถ้วน

 

ต่างประเทศเขาใช้ถุงบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน (Flexible Packaging) ผลิตมาจากพลาสติกลามิเนต ซองลามิเนต ฟิล์มลามิเนตชนิดพิเศษในการผลิต เป็นถุงทนความร้อนสูง ถุง หรือซองเหล่านี้สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ (microwave heating) ไม่ละลายและไม่มีสารพิษปนเปื้อนในอาหาร หรือสังเกตได้จากบรรจุภัณฑ์จะมีสัญญาลักษณ์รูปไมโครเวฟ หรือ Microwavable

 
เวลาซื้อไส้กรอกในร้านสะดวกซื้อ  พนักงานถึงตัดปากถุงแล้วเอาเข้าอุ่นในไมโครเวฟได้ทั้งซอง เขาน่าจะถามว่า "รับถุง Microwavable มั้ยค่ะ" ก่อนเวฟให้เรากิน ให้เราได้เลือกมั่ง
 

อย่างไรก็ตาม เพื่อความมั่นใจและความปลอดภัย ก่อนจะนำบรรจุภัณฑ์หรือภาชนะพลาสติกเข้าไมโครเวฟทุกครั้ง แนะนำให้ดูที่บรรจุภัณฑ์หรือภาชนะพลาสติกนั้นว่ามีสัญลักษณ์ไมโครเวฟเซฟ (Microwave Safe) หรือ ไมโครเวฟเอเบิล (Microwavable) ดังภาพที่ 1 หรือไม่ ถ้ามีก็แสดงว่าเอาเข้าไมโครเวฟได้อย่างปลอดภัย

นอกจากนี้ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เกี่ยวกับภาชนะพลาสติกบรรจุอาหารสำหรับเตาไมโครเวฟ โดยแบ่งออกเป็น 1). มอก. 2493 เล่ม 1-2554 สำหรับการอุ่นแบบใช้ซ้ำ และ 2). มอก. 2493 เล่ม 2-2556 สำหรับการอุ่นครั้งเดียว ซึ่งพิจารณาคุณลักษณะด้านความปลอดภัย เช่น สีที่ใช้พิมพ์ สีที่ผสมในเนื้อพลาสติก ปริมาณสารที่ละลายออกมาจากภาชนะ โลหะในเนื้อพลาสติก เป็นต้น ความคงทนของตัวภาชนะ ได้แก่ ความทนความร้อนของภาชนะ ความทนแรงกระแทก เป็นต้น

 

ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรเลือกใช้ภาชนะที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อความปลอดภัย