การเกิดไฟไหม้ขึ้นได้จะต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนร่วมกัน องค์ประกอบแรกคือ ออกซิเจน หรือ อากาศ หรือสารเคมี ที่สามารถทำปฏิกิริยาให้ ออกซิเจน ออกมาได้ องค์ประกอบที่สองคือ เชื้อเพลิง ซึ่งรวมทั้งสารไวไฟ และ องค์ประกอบสุดท้ายคือ แหล่งกำเนิด ได้แก่ อุณหภูมิ ความร้อน หรือ ประกายไฟ

จุดวาบไฟ หรือ Flash point คือ อุณหภูมิต่ำสุด ที่ทำให้ของเหลวกลายเป็นไอระเหยออกมา พร้อมที่จะเริ่มต้นลุกไหม้ขึ้นเมื่อไอระเหยนี้ผสมกับอากาศในสัดส่วนที่พอดี และมีแหล่งกำเนิดไฟจะสามารถลุกติดไฟได้ แต่ก็จะสามารถดับได้เองหากไอระเหยหมดลง

จุดวาบไฟของๆเหลวประเภทต่างๆ เป็นจุดวาบไฟที่ระดับน้ำทะเล หากที่ระดับความสูงเพิ่มขึ้น จุดวาบไฟของๆเหลวจะต่ำลง สาเหตุมาจากความดันบรรยากาศอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นความเสี่ยงด้านของการเกิดเพลิงไหม้ หรืออัคคีภัย จากการจัดเก็บ และการใช้งานของของเหลวเหล่านั้นจะมีมากขึ้น

ในการตรวจสอบจุดวาบไฟ และจุดเดือด ( Boiling point ) ของๆเหลว และสารเคมี ผู้ใช้งาน สามารถขอเอกสาร MSDS (Material Safety Data Sheet) จากผู้ผลิต หรือผู้จำหน่าย เพื่อใช้ในการพิจารณาการจัดเก็บ และการใช้งานสารเคมีนั้นๆอย่างปลอดภัย

 

โดยจุดวาบไฟนี้ ใช้ในการแบ่งประเภทของสารเคมี โดยหน่วยงานป้องกันเพลิงไหม้แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือ NFPA ( National Fire Protection Agency ) ได้มีการจัดประเภทของของเหลวติดไฟได้ และของเหลวไวไฟ ( NFPA 30 Flammable and Combustible Liquids Code )

ของเหลวไวไฟ ( Flammable Liquids ) คือของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 100° F (37.8° C) โดย NFPA มีการจัดประเภท เป็นของเหลวประเภท I ( Class I ) ซึ่งมีการแบ่งประเภทย่อยลงไปอีก ตามคุณสมบัติเพิ่มเติมตามความเสี่ยงของการเกิดเพลิงไหม้ ได้แก่ Class IA , Class IB และ Class IC

ของเหลวติดไฟได้ ( Combustible Liquids ) มีจุดวาบไฟเท่ากับ หรือสูงกว่า 100° F (37.8° C) โดย NFPA มีการจัดประเภท ให้เป็น ของเหลวประเภท II ( Class II ) และ ของเหลวประเภท III ( Class III) ซึ่งมีการแบ่งประเภทย่อยลงไปอีก ตามคุณสมบัติเพิ่มเติมตามความเสี่ยงของการเกิดเพลิงไหม้ ได้แก่ Class IIIA และ Class IIIB

 
ของเหลว Class I นั้นจึงมีอันตรายด้านความเสี่ยงของการเกิดเพลิงไหม้สูงสุด ตามมาตราฐานความปลอดภัยทั่วไป ในขณะที่ ของเหลว Class IIIB มีอันตรายด้านความเสี่ยงของการเกิดเพลิงไหม้น้อยที่สุด
 

NFPA Class

    • ของเหลว Class IA เป็นของเหลวไวไฟ ที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 73° F (22.8° C) และมีจุดเดือด (Boiling point) ต่ำกว่า 100°F (37.8°C) นอกจากนี้ ของเหลวไวไฟที่ไม่เสถียรก็ถูกจัดให้อยู่ในประเภท Class IA ด้วยเช่นเดียวกัน ของเหลว และสารเคมีในกลุ่มนี้ ตัวอย่างของเหลวในประเภทนี้ เช่น อะเซทาลดีไฮด์ , เอธิล อีเทอร์ , ไซโคลเฮกเซน , เอทิลีนออกไซด์ , เมธิลคลอไรด์ และ เพนเทน เป็นต้น
    • ของเหลว Class IB เป็นของเหลวไวไฟ ที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 73° F (22.8° C) และมีจุดเดือด (Boiling point) เท่ากับหรือสูงกว่า 100° F (37.8°C) ตัวอย่างของเหลวในประเภทนี้ เช่น อะซีโตน , น้ำมันเบนซิน , โทลูอีน , เอทิลแอลกอฮอล์ , ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ เป็นต้น
    • ของเหลว Class IC เป็นของเหลวไวไฟ ที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือสูงกว่า 73° F (22.8° C) แต่ต่ำกว่า 100° F (37.8°C) ตัวอย่างของเหลวในประเภทนี้ เช่น บิวทิลแอลกอฮอล์ , ไอเอทินไกลซอล , สไตรีน , เทอร์เพนไทน์ และ ไฮดราซีน เป็นต้น
    • ของเหลว Class II เป็นของเหลวติดไฟได้ ที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือสูงกว่า 100° F (37.8° C) แต่ต่ำกว่า 140° F (60°C) ตัวอย่างของเหลวในประเภทนี้ เช่น น้ำมันดีเซล , กรดอะซิติก , นาล์ฟทา , น้ำมันยางสน (Pine Tar) และตัวทำละลายสตอดดาร์ด (Stoddard Solvent) เป็นต้น
    • ของเหลว Class IIIA เป็นของเหลวติดไฟได้ ที่มีจุดวาบไฟที่เท่ากับหรือมากกว่า 140° F (60°C) แต่ต่ำกว่า 200°F (93.3°C) ตัวอย่างของเหลวในประเภทนี้ เช่น ไซโคลเฮกซานอล , กรดฟอร์มิก , ไนโตรเบนซีน , ฟอร์มาดิไฮด์ , น้ำมันเครื่อง , น้ำมันเตาประเภท 1 และ น้ำมันรักษาเนื้อไม้ เป็นต้น
    • ของเหลว Class IIIB เป็นของเหลวติดไฟได้ ที่มีจุดวาบไฟที่ 200°F (93.3°C) หรือสูงกว่า ตัวอย่างของเหลวในประเภทนี้ เช่น ฟอร์มาลีน , น้ำมันละหุ่ง , น้ำมันมะกอก , น้ำมันปลา , น้ำมันมะกอก และกรดพิคริค เป็นต้น
 

ดัชนี NFPA 704 ( National Fire Protection Association Code 704 ) กำหนดดัชนีชี้บ่งอันตรายจาก สารเคมีต่อสุขภาพอนามัย ความไวไฟ การเกิดปฏิกิริยา โดยการกำหนดเป็นระดับตัวเลข 0-4 อยู่บน สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 4 สี เรียงกัน โดยการแบ่งสีเรียงลำดับได้ดังนี้

BLUE : สีน้ำเงิน หมายถึง ผลของสารเคมี ที่มีต่อสุขภาพ (Health)

RED : สีแดง หมายถึง ความไวไฟ (Flammable)

YELLOW : สีเหลือง หมายถึง ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา (Reactivity)

WHITE : สีขาว หมายถึง ข้อมูลสำคัญเพิ่มเติม (Special hazard or precaution)

ตัวเลขที่แตกต่างกันบ่งบอกถึงระดับความรุนแรง และอันตราย (Degree of Hazards)

สีน้ำเงิน (Health) : ความรุนแรงเกี่ยวกับสุขภาพ

0 : ปลอดภัยมากที่สุด ไม่เกิดอันตรายเมื่อสัมผัส สารที่ไม่ก่อให้เกิด อันตรายขณะเกิดเพลิง ไหม้

      • LD50 ทางปาก > 2000 มก./นน.กก.
      • LC50 ทางการหายใจ > 1000 ppm

1 : สารที่ทำให้เกิดการระคาย เคือง และเจ็บป่วยเล็กน้อยเมื่อสัมผัสในระยะสั้น

      • 500 < LD50 ทางปาก 2000 มก./นน.กก.
      • 1000 < LD50 ทางผิวหนัง 2000 มก./นน.กก.
      • 500 < LC50 ทางหายใจ 10,000 ppm

2 : สารที่อาจก่อการบาดเจ็บ เมื่อมีการสัมผัสในระยะสั้น

      • 50 < LD50 ทางปาก 500 มก./นน.กก.
      • 200 < LD50 ทางผิว หนัง 1000 มก./นน.กก
      • 2 < LC50 ทางหายใจ 10มก./ลิตร

3 : สารที่มีความเป็นพิษสูง มากจากการเผาไหม้ สาร กัดกร่อนอย่างรุนแรง อาจเกิดการบาดเจ็บอย่าง รุนแรงเมื่อมีการสัมผัส ระยะสั้น

      • 5 < LD50 ทางปาก  50 มก./นน.กก.
      • 40 < LD50 ทางผิวหนัง  200มก./นน.กก
      • 1000 < LC50 ทาง หายใจ 3000 ppm

4 : สารที่มีความเป็นพิษสูง มาก อาจทำให้สูญเสียชีวิต และเจ็บป่วยรุนแรง จากการสัมผัสในระยะสั้น ๆ

      • LD50 ทางปาก > 5 มก./นน.กก.
      • LD50 ทางผิวหนัง > 40 มก./นน.กก.
      • LC50 ทางหายใจ > 1000 ppm

สีแดง (Flammable) : ความรุนแรงเกี่ยวกับความไวไฟ

0 : สารไม่ติดไฟเมื่อสัมผัส กับความร้อนอุณหภูมิสูง 815.5°C เป็นเวลา 5 นาที

1 : สารที่ต้องทำให้ร้อนก่อนจึงจะลุกติดไฟ หรือสัมผัส กับอุณหภูมิ 815.5°C เป็น เวลา 5 นาที หรือน้อยกว่า เป็นสาร ติดไฟได้ทั่ว ไป เป็นสารติดไฟได้ทั่วไป Class III B เป็นของแข็ง/ของเหลว ที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 93.4 °C

2 : สารที่ต้องให้ความร้อนปานกลาง หรืออุณหภูมิสูงก่อนจุดติดไฟ จะไม่ลุกไหม้ในบรรยากาศ ปกติเป็นของเหลวติดไฟได้ Class II และ III A ที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 37.8 °C แต่ไม่เกิน 93.4 °C

3 : สารที่สามารถลุกติดไฟได้ในทุกสถานะของอุณหภูมิห้อง และ ความดันปกติ สารไวไฟ Class IB และ IC จุดวาบไฟต่ำกว่า 22.8 °C จุดเดือดสูงกว่า 37.8 °C และของเหลวที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 22.8 °C จุดเดือดต่ำกว่า 37.8 °C

4 : สารที่ระเหยกลายเป็นไอได้ที่อุณหภูมิห้อง และ ความดันปกติ สารที่สามารถลุกติดไฟได้เอง สารไวไฟ Class 1A ที่มี จุดวาบไฟต่ำกว่า 22.8 °C จุดเดือดต่ำกว่า 37.8 °C

สีเหลือง (Reactivity) : ความรุนแรงเกี่ยวกับความไวในปฎิกิริยา

0 : สารที่มีความเสถียรทั้งใน สภาวะปกติและเกิดเพลิงไหม้ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ

1 : สารซึ่งปกติจะมีความเสถียร แต่จะไม่เสถียรเมื่ออุณหภูมิ และความดันสูงขึ้น สารที่ เปลี่ยนแปลงหรือสลายตัวเมื่อ สัมผัสกับอากาศ แสง หรือความชื้น

2 : สารที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาได้ง่าย เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เกิด ปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำหรือ ทำให้เกิดส่วนผสมที่สามารถ ระเบิดได้กับน้ำ

3 : สารที่สามารถระเบิดได้ง่าย จากการสลายตัวหรือการเกิด ปฏิกิริยา แต่จะต้องมีแหล่งจุด ติดไฟหรือความร้อนจากภายนอก

4 : สารที่สามารถระเบิดได้ง่ายด้วยตัวเอง จากการสลายตัวหรือการเกิดปฏิกิริยา ที่อุณหภูมิและความดันปกติ

สีขาว (Special hazard or precaution) : ข้อมูลสำคัญเพิ่มเติม

OX : สารออกซิไดซ์ (Oxidizer)

ACID : สารที่เป็นกรด (Acid)

ALK : สารที่เป็นด่าง (Alkaline)

W : สารที่ถูกน้ำไม่ได้ (Use no water)

COR : สารที่มีฤทธิกัดกร่อน (Corrosive)